กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนานวัตกรรม "สเปรย์กันยุง" ป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก

     นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 20,969 ราย และมีผู้เสียชีวิต 18 ราย สำหรับแนวทางป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกมีหลายวิธี เช่น ป้องกันกำจัดการวางไข่ของยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด การใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดยุง เป็นต้น 
     จากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ยุงลายดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงหลายชนิดจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้วิจัยและพัฒนาสเปรย์กันยุงและยุงดื้อสารเคมีกำจัดแมลง เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชื่อ ดีมอส (D-mos) ขึ้น นวัตกรรมดังกล่าว มีสารออกฤทธิ์ คือ อิคาริดิน 10% จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนำไปใช้ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยผ่านการทดสอบการระคายเคืองในสัตว์ทดลองชนิดกระต่าย ด้วยวิธี OECD Test Guideline 404 จากกลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันยุงและยุงดื้อสารเคมีกำจัดแมลงได้นาน 9 - 12 ชั่วโมง 
    โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบ ดีมอส (D-mos) นวัตกรรมสเปรย์กันยุงและยุงดื้อสารเคมีกำจัดแมลง จำนวน 10,000 ขวด ให้กับกระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปมอบให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกสำหรับทาป้องกันยุงลายกัด ช่วยลดการแพร่เชื้อไวรัสเดงกี ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ต่อไป


ที่มา เพจกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความยอดนิยม
Tag