ประวัติ สวท.เชียงราย

 ประวัติ สวท.เชียงราย

                  ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย พลเอก กฤษ ปุณกัณฑ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์จึงได้มีคำสั่งให้หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์เขตลำปาง ในขณะนั้นให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน ในขั้นแรกก็ติดต่อขอที่ดิน      เพื่อปลูกสร้างในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่

                      ต่อมาในเดือน ตุลาคม 2509 นายประสบ บูรณเหตุ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์เขตลำปาง  ในสมัยนั้น พร้อมกับ นายณรงค์ พานประเสริฐ ได้เดินทางมาจังหวัดเชียงราย เพื่อขอที่ดินก่อสร้างสถานี และได้ติดต่อกับ  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในการจัดหาที่ดินในการจัดสร้าง  เนื่องจากไม่สามารถหาที่ดินของราชพัสดุ       จึงต้องซื้อที่ดินของเอกชนแทน  ในการนี้ นายอำเภอเมืองเชียงรายก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  โดยพาไปติดต่อผู้ที่จะทำการขายที่ดิน ในการนี้ ทางเขตลำปางก็ได้เริ่มสำรวจทางภูมิศาสตร์ และทางเทคนิค      ในขั้นต้น  และปรากฏว่า ได้ที่ดินประมาณ 60 ไร่ อยู่ริมถนนสายเชียงราย แม่สาย (ถนนพหลโยธิน) บ้านสันต้นเปา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อจากนั้นผู้เชี่ยวชาญ ทางภูมิศาสตร์ และทางด้านเทคนิค ก็ได้เดินทางมาดูสถานที่ โดยมี

1.ดร.ธวัช เมฆสวรรค์ 

2.นายวรพรรณ 

3.นายเจตนา ศิริสิงห์ 

4.นายจ้าน ตัณฑโกไศย

พร้อมด้วยท่านส่วน , นายอิสระ  กาญจนะคูหะ และนายประกวด สมบัติทวี เลขานุการกรมประชาสัมพันธ์  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่าพื้นที่ทำเลที่จะตั้งสถานีใช้ได้ดี

                       ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2509  ทางจังหวัดเชียงรายได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินได้แล้ว ทางฝ่ายการเงินก็ได้เดินทางไปจ่ายเงินค่าซื้อที่ดินเป็นการเรียบร้อยแล้ว  เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2510 คณะกรรมการฝ่ายออกสเปคของเครื่องส่งและเครื่องยนต์ ซึ่งมี

1.นายจ้าน  ตัณฑโกไศย  ประธาน 

2.นายเกรียงไกร ชีวะปรีชา   กรรมการ 

3.ดร.ธวัช เมฆสวรรค์  กรรมการ 

4.นายณรงค์ พานประเสริฐ กรรมการ 

5.นายดำรง  วีระหงส์     กรรมการ 

6.นายเทพ จันทราภา  กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการทั้งหมดนี้ ได้ประชุมหารือ ในที่สุดก็ได้ข้อตกลง เสร็จสิ้น ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510  โดยใช้วงเงินงบประมาณ 3,300,000 บาท  จึงได้สั่งให้แผนกการคลังดำเนินการประกวดราคาเพื่อจัดซื้อตามระเบียบราชการต่อไป

                       ต่อมาในเดือน สิงหาคม 2510 ปรากฏว่าผู้ที่ประกวดราคา เครื่องส่ง AM ได้คือ บริษัท จาตุรงค์อาภรณ์ ยี่ห้อ NEC เมื่อเดือน กรกฎาคม 2510 แผนกการคลัง ได้เรียกประกวดราคาก่อสร้างอาคารเครื่องส่ง บ้านพัก ซึ่งผู้ประกวดราคาได้คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธงชัยก่อสร้าง 241 วังขวา ลำปาง เป็นเงิน 1,249,500 บาท และได้ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2510 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2510  ได้ส่งมอบงานงวดที่ 1 ซึ่งมีคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้

1.นายประกวด  สมบัติทวี  ประธาน 

2.นายเปรม  โรหิโตปการ  กรรมการ 

3.นายณรงค์ พานประเสริฐ   กรรมการ 

4.นายวิเชียร  อยู่สุข  กรรมการและช่างผู้ควบคุม ของ กปส. 

5.นายประทีป  จารุโยธิน   กรรมการและเลขา 

6.นายวัชระ         กรรมการฝ่ายกรมโยธา   

7.นายดุสิต    ช่างผู้ควบคุมฝ่ายกรมโยธา 

ในการสร้างกำหนดเสร็จภายใน 6 เดือน คือถึง 25 ธันวาคม 2510 ต่อจากนั้นก็จะได้ติดตั้งเครื่องส่งต่อไป   ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2511 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์จัดซื้อเครื่องส่งAM พร้อมทั้งอุปกรณ์และให้ติดตั้งจนแล้วเสร็จเป็นเงิน 3,681,699 บาท ตามหนังสือสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2510  และได้แต่งตั้งคณะกรรมการดังนี้  

คณะกรรมการตรวจสอบและทดลองในทางวิทยาศาสตร์

1.นายเกรียงไกร  ชีวะปรีชา  ประธานกรรมการ   

2.ดร.ธวัช เมฆสวรรค์    กรรมการ 

3.นายเฉลิม  ภัทรโกศล   กรรมการและเลขานุการ     

คณะกรรมการตรวจและรับมอบ   

1.นายประสบ  บูรณะเหตุ   ประธานกรรมการ 

2.นายวรพันธ์   เมนะเศวต   กรรมการ 

3.นายณรงค์ชัย  พานประเสริฐ   กรรมการ 

4.นายบุญสืบ  รุ่งเจริญ   กรรมการ 

5.นายเฉลิม  ภัทรโกศล   กรรมการและเลขานุการ  

                         ในปี พ.ศ.2510 เปิดทำการกระจายเสียงออกอากาศ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2511  ระบบ AM ความถี่ 1260 กิโลเฮิร์ซ ระบบ AM ขนาดกำลังส่ง 50 KW ขึ้นที่จังหวัดเชียงราย    ตามโครงการงานสถานีวิทยุกระจายเสียงในภาคเหนือ  เป็นที่รู้จักกันในนาม “สถานีวิทยุ ปชส.”  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากสถานีนี้

                         เนื่องจากคุณภาพเสียงในระบบเอเอ็มไม่ดีเท่าที่ควร ไปตามอายุการใช้งาน  กรมประชาสัมพันธ์จึงได้จัดตั้งเครื่องส่งในระบบ FM  ขึ้น โดยได้รับงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องส่ง FM ยี่ห้อ HARRIS ขนาดกำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ ด้วยวงเงินงบประมาณ 2,400,000 บาท   เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ และออกอากาศเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม  2533 (เครื่องส่งพร้อมอุปกรณ์ห้องส่ง)

                          ในปีงบประมาณ  2537 บริษัท เอไทม มีเดียร์ (Radio Vote Sattelite) ได้มาดำเนินการเช่าเวลา  และจัดซื้อเครื่องส่ง ยี่ห้อ BE รุ่น FM 1C และอุปกรณ์ห้องส่งใหม่ทั้งชุด มอบให้ สวท.เชียงราย ใช้งาน   การพัฒนาขีดความสามารถในการกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง  18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย โดยในปี พ.ศ.2541 กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องส่ง AM ใหม่ เพื่อทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพจากการใช้งาน ขนาดกำลังส่ง 25 กิโลวัตต์  แต่ประสิทธิภาพการกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

                            ในปี พ.ศ.2538 ได้ทำย้ายเครื่องส่ง FM ความถี่ 95.75 MHz. จากถนนพหลโยธิน ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงรายไปติดตั้งที่สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์     ช่อง 10 ดอยปุย ต.สันทราย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยเชื่อมโยงสัญญาณ จากห้องส่งไปยังสถานีเครื่องส่งด้วยระบบ UHF.Link ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2538 วันศุกร์ ที่ 20 ตุลาคม 2538 เวลา 12.00 น. ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

                             ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องส่งระบบ FM ใหม่เพื่อใช้ทดแทนของเดิมเพิ่มประสิทธิภาพการออกอากาศ      ทำให้ส่งกระจายเสียงออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 18 อำเภอของจังหวัดเชียงราย และรับฟังได้อย่างชัดเจน ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นหุบเขา มีภูเขาสูงบดบังสัญญาณ       ปัจจุบันเครื่องส่งระบบ FM ของ สวท.เชียงราย กำลังส่ง ขนาด 2 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่บนดอยปุย บ้านหัวดอย ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยติดตั้งร่วมเครื่องส่งโทรทัศน์ดิจิตอลของ NBT

พิกัดที่ตั้งสถานีและเครื่องส่ง

                                สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงรายและเครื่องส่งระบบ AM  ตั้งอยู่เลขที่ 40  ถนนพหลโยธิน  หมู่ที่ 1 บ้านสันตาลเหลือง  ตำบลริมกก  อำเภอเมืองเชียงราย  จังหวัดเชียงราย  รหัสไปรษณีย์ 57100   หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0-5370-2642   บนพื้นที่ 52 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา  ละติจูด 19.938339 องศา  ลองติจูด  99.847778 องศา

เครื่องส่งระบบ FM ของ สวท.เชียงราย กำลังส่ง ขนาด 1 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่บนดอยปุย บ้านหัวดอย   ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย  ละติจูด(เหนือ) 19.813683 องศา          ลองติจูด (ตะวันออก) 99.867007 องศา

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีนางวรางคณา  อุ่นบ้าน เป็นผู้อำนวยการสถานี  

แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้

1.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

2.ฝ่ายข่าว

3.ฝ่ายรายการ

4.ฝ่ายเทคนิคและสารสนเทศ

อัตรากำลัง

ข้าราชการ 8 อัตรา

ลูกจ้างประจำ 2 อัตรา

จ้างเหมาบริการ 5 อัตรา

 


image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar